ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ

วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศ

ตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศ
                ระบบเอทีเอ็ม

เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคารและเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศทีได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ดังรูปที่ 1.13โดยในปีพ.ศ. 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงค์ ในเมืองนิวยอร์กเริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงรวมวันเสาร์-อาทิตย์ด้วย ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-14.00 น.หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคารในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของธนาคารซิตี้แบงค์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และคล่องตัวได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคารอื่นมาเป็นลูกค้าของธนาคารตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัวในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะหันมาให้บริารเอทีเอ็มบ้าง

รูปที่ 1.13 ตู้ฝากถอนเงินในระบบเอทีเอ็ม
การนำเอาเทคโนโลยีเอทีเอ็มเข้ามาใช้ก่อนเป็นรายแรกสร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจเหนือคู่แข่งเกิดขึ้นซํ้าแล้วซํ้าอีกในเมืองใหญ่ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นซิดนีย์ โตเกียว ปารีสและรวมถึงกรุงเทพฯด้วย กล่าวคือธนาคารใดในเมืองเหล่านั้นที่ใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็มได้ก่อนและให้บริการที่เหนือกว่า ก็สามารถดึงส่วนแบ่ง
การตลาดได้สูงมากเหนือคู่แข่งเนื่องจากได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นกลยุทธ์การแข่งขันในแง่ปรับปรุงการบริการแก่ลูกค้า
เช่น ปรากฎการณ ์ที่ธนาคารไทยพานิชย์นำระบบคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมตรงมาบริการการใช้เอทีเอ็ม และประสบความสำเร็จได้ก่อนจึง
มีโอกาสดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูงเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็มก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้า
ธนาคารไว้ในฐานข้อมูลกับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศหรือทั่วโลกได้ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจาดธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยุ่ทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มจะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารที่เก็บข้อมูลยอดเงินฝากและรายการฝากถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็นฐานข้อมูลกลางในความหมายที่ว่า ลูกค้ามีบัญชีฝากในธนาคารแห่งนั้น ๆ จะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลเพียงชุดเดียว และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกลนอกจากนี้คอมพืวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวณผลรายการต่าง ๆเช่น การฝาก การโอน

และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเทคโนโลยีฐานข้อมูลกลางทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้เพียงชุดเดียว ไม่จำเป็นต้องสำเนาหลายชุดสามารถเรียกใช้และแก้ไขได้ในระยะไกล และเมื่อมีการแก้ไขแล้วทุกคนที่เข้ามาใช้

ข้อมูลในภายหลังก็จะได้รับข้อมูลที่ทันสมัย และการประมวณผลอัตโนมัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและธุรกิจได้อีกมากมาย
                การลงทะเบียนเรียน


การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจ แต่ตัองเป็นวิชาที่กำหนดในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดั้งนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวณผล
แบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ทันทีว่ามีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้วสามารถเปลี่ยนกลุ่ม 
หรือวิชาใดแทนได้บ้าง
ขั้นตอนของการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาของมหมวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีดังนี้
1) นักศึกษานำรายวิชาที่สนใจจะเรียน ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอความชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา จึงนำไปลงทะเบียนเรียนได้
2) นักศึกษานำเอกสารการลงทะเบียนที่มีลายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา มาพบกับเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน เจ้าหน้าลงทะเบียนป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดใดหรือไม่ เช่น มีผู้ลงทะเบียนวิชานั้นเต็มแล้ว 
ไม่สามารถลงทะเบียนได้ ต้องให้นักศึกษาเปลี่ยนกลุ่มเรียน หรือหากต้องการลงทะเบียนวิชาใหม่ ก็ต้องกลับไปขอ
ความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาอีกคั้ง
3) โปรแกรมพิมพ์รายการที่นักศึกษาลงทะเบียนทั้งหมด พร้อมทั้งคิดค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนเรียน
4) นักศึกษาจายเงินและรับเอกสารใบเสร็จที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
5) เมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่บ่งบอกได้ว่า แต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง นักศึกษาลงทะเบียนรวมทั้งสิ้นกี่คน พร้อมทั้งพิมพ์รายงานการลงทะเบียน
ของนักศึกษาในแต่ละรายวิชา แจ้งให้อาจารย์ที่สอนวิชานั้น ๆ ทราบ
6) ในกรณีที่นักศึกษาต้องการเพิ่มหรือถอนการลงทะเบียนในภานหลัง ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่อนุญาต นักสึกษาสามารถดำเนินการโดยขออนุญาตการเพิ่มหรือถอนจากอาจาารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำวิชา และนำเอกสารมาให้เจ้าหน้าที่ป้อนรหัสที่เพิ่มหรือถอนโปรแกรมจะตรวจสอบกับฐานข้อมูล และพิมพ์รายการทางการเงิน พร้อมทั้งปรับปรุงฐานข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ ข้อมูล

ในระบบการลงทะเบียนของสถานศึกษา มีการเปี่ยนแปลงและทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถเรียกใช้หรือตรวจสอบได้ทันที ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่าง ๆเช่น การจัดตารางสอน การจัดห้องสอบ การปรับปรุงข้อมูลคะแนน รวมถึงการรายวานผลต่าง ๆ 

                การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต


การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและค่าใช้จ่าย
ที่ตํ่ากว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูลทำการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูปแบบเว็บเพจ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความและประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย
การประยุกต์ที่น่าสนใจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือ ระบบพานิชน์อิทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (electronic commercr : e-commerce) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอิเทอร์เน็ตมีการตั้งร้านคาบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บเพจนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้เขาใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลู้ค้เข้าร่วมชม
จากที่ต่าง ๆ ได้ทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น ร้านค้าหนังสือหลายแห่งที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต นำเสนอรายการ และตัวอย่างหนังสือบนเครือข่าย มีหนังสือที่ร้านนำเสนอหลายแสนเล่ม มีระบบเครือข่ายค้นหาหนังสือที่ต้องการ และหากสนใจติดต่อสั่งซื้อก็กรอกลงในแบบฟรอร์มการส่งซื้อ
มีระบบการชำระได้หลายแบบ เช่น ระบบชำระเงินผ่านเครดิต ระบบการโอนผ่านธนาคาร ระบบการนำสินค้าส่งถึงที่แล้วจึงค่อยชำระเงิน
การจัดส่งสินค้าก็ทำได้อยางรวดเร์ว มีเครือข่ายการส่งสินค้าได้ทั่วโลกผ่านทางบริษัทจัดส่งสินค้าแบบเร่งด่วน ระบบการค้าขายบนอินเทอร์เน็ตจึงเติบโตและมีผู้นิยมอย่างมาก ทั้งนี้เพราะข้อดีคือ สามารถนำเสนอลูกค้าให้กับลูกค้า
ได้อย่างกว้างขวาง สินค้าบางอย่างเป็นสินค้าที่มีมากและราคาถูกในท้องที่หนึ่ง เช่น คนไทนสามารถส่งปลาทูขายผ่านระบบ

อีคอมเมิร์ซไปยังผู้บริโภคแถบตะวันออกกลาง โดยระบบบรรจุหีบห่อแช่แข็งขนาดเล็ก ส่งผ่านทางบริษัทจัดส่งสินค้าเร่งด่วนไปยังผู้บริโภคได้ นอกจากนี้สินค้าประเภทหัตถกรรมไทยจำนวนมากก็เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ การนำเสนอสินค้าผ่านทางเครือข่าย 

จึงเป็นหนทางของการเปิดตลาดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น จนในปัจจุบันมีผู้ตั้งร้านค้าบนเครือข่ายมากมาย โดยเฉพาะกลุ่ม
อุตสาหกรมขนาดย่อม

รูปที่ 1.14 ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการขายสินค้า ผู้ซื้อต้องลงทะเบียนเพื่อสั่งสินค้าและชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
นอกจากการทำการค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว บริษทห้างร้าน และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ก็หันมาดำเนินกิจการ หรือให้บริการทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการสะดวก
สบายขึ้น โรมแรมและการท่องเที่ยวเสนอบริการ และการจองเข้าพักโรงแรมหรือการซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านทางอินเทอร์เน็ต 
กรมสรรพากรเสนอบริการให้ผู้เสียภาษียื่นแบบรายการการเสียภาษีผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้คนหลายแสนคนที่มีหนาที่ต้องยื่นแบบรายการเสียภาษีไม่ต้องเดินทางไปที่
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบรายการเสียภาษได้จากที่ทำงาน หรือที่บ้าน ทำให้ลดปัญหาด้านการเดินทางและการจราจรได้มาก

รูปที่ 1.15 ตัวอย่างเว็บไซต์กรมสรรพากรที่ให้ประชาชนยื่นแบบชำระภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ต

บริษัทและหน่วยงานทางธุรกิจจำนวนมากใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การสั่งใบซื้อสินค้าในรูปแบบอิทรอนิกส์ การตรวจสอบรายการสินค้าตามห้างร้านค้าปลีกแบบ
ออนไลน์ การโต้ตอบธุรกรรมต่าง ๆ ทำให้ลดการใช้กระดาษและทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ
รัฐมีเป้าหมายให้ทุกหน่วยราชการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเช่นกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำงานบนเครือข่ายทำให้เกิดการดำเนินกิจการที่เรียกว่า "อีกอป เวอร์น
เมนต์" (eGovernment ) เช่น เมื่อประชาชนติดต่ากระทรวงต่างประเทศเพื่อขอหนังสือเดินทาง กระทรวงต่างประเทศต้องการตรวจสอบบุคคล ก็สามารถเชื่อมโยงเรียกใช้ข้อมูลสำเนาทะเบียนบ้าน
และบัตรประชาชนได้จากสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทยไเโดยตรงและทันทีทำให้การตรวจสอบบุคคลได้แม่นยำและถูกต้อง โดยประชาชนผู้ขอใช้บริการไม่ต้องถ่ายสำเนา และการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐทำให้การบริการประชาชนมีความรวดเร็ว และเป็นที่ปรารถนาของประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานราชการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ 

กับบริษัท ห้างร้าน เช่น การประมูลซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยหน่วยงานรัฐจะเสนอรายการซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต และให้บริาทผู้ขายเสนอราคาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้การประมูลจัดซื้อของทางราชการมีความรวดเร็ว สะดวก และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

                ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข 


ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล
ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล เป็นการนำระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายหลักของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดประกอบด้วยระบบสารสนเทศ 2 ชนิดระบบ
1. ระบบสารสนเทศทางคลินิก(Clinical information system)
เป็นระบบการจัดการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แพทย์และพยาบาลจะใช้ระบบนี้ในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการวางแผนการนำไปใช้ และการประเมินการดูแลผู้ป่วย
ตัวอย่าง

·         ระบบสารสนเทศทางการแพทย์
                        1.บัททึกข้อมูลทางการพยาบาล เช่น
1.               North American Nursing Diagnosis Association : NANDAสมาคมการวินิจฉัยทางการพยาบาลอเมริกาเหนือ
2.               Nursing Intervention Classification : NIC ใช้ตัดสินว่าจะให้การบาบัดทางการพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยเพื่อแก้/บรรเทาปัญหาทางสุขภาพ
3.               Nursing Outcome Classification : NOC ระบบสารสนเทศทางการพยาบาลที่ช่วยประเมินว่าผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพครบถ้วนและเท่าเทียมกันทุกคน
4.               International Classification Nursing Practice : ICNP การใช้คามาตรฐานในการวินิจฉัยทางการพยาบาล
                         2.มีความยืดหยุ่นในการใช้ระบบเพื่อดูข้อมูลและเก็บรวบรวมสารสนเทศที่จำเป็นทำให้มีการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ 
·         ระบบติดตาม (Monitor system)

1.เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดทางชีวภาพแบบอัตโนมัติในหน่วยวิกฤต และหน่วยเฉพาะโรค2.รูปแบบของระบบติดตาม 
·         การเตือนเมื่อพบสิ่งที่ผิดปกติ
1.ระบบติดตามแบบเคลื่อนที่2.การบันทึกสิ่งค้นพบที่ผิดปกติ3.สามารถถ่ายโอนข้อมูลผู้ป่วยเข้าไปสู่ระบบอื่นได้ เพื่อที่จะได้มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง   
·         ระบบห้องปฏิบัติการ (Laboratory system)

1.บันทึกข้อมูลผลการตรวจต่างๆ ทางห้องปฏิบัติการ2.สามารถเข้าถึงผลการตรวจได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น3.ช่วยลดความผิดพลาดในการายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกิดจากคน ตัวอย่าง เช่น ระบบฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา  
·         ระบบรังสี (Radiology system)

1.เก็บข้อมุลเป็นภาพดิจิตอลแทนฟิล์มรังสีแบบเดิม2.สามารถเข้าถึงข้อมูลภาพทางรังสีได้อย่างรวดเร็วขึ้น3.สามารถส่งต่อภาพรังสีไปยังแหล่งอื่นๆ เพื่อส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลอื่น ตัวอย่าง เช่น ระบบฐานข้อมูล x-ray ของโรงพยาบาลศิริราชระบบ SIPACS  
·         ระบบเภสัชกรรม (Pharmacy system)

1.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา2.สามารถเข้าถึงประวัติผู้ป่วยและการให้ยาได้ รวมทั้งประวัติการแพ้ยาและข้อมุ,ส่วนบุคคล3.ช่วยแพทยืในการตัดสินใจว่ายาตัวไหนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย4.การคำนวณการใช้ยา ค่าใช้จ่ายและออกใบเสร็จรับเงิน 

สมาคมการวินิจฉัยทางการพยาบาลอเมริกาเหนือ  (North American Nursing Diagnosis Association : NANDA)Human Response Patterns
1. (Exchanging )แบบแผนการแลกเปลี่ยน เช่น การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ โภชนาการ อุณหภูมิ ขาดน้ำฯลฯ
2. ( Communicating)แบบแผนการสื่อสาร เช่นการพูดผิดปกติ
3. (Relating)แบบแผน สัมพันธภาพ เช่น การแยกตัวจากสังคม ความเครียดในบทบาท
4. (Valuing)แบบแผนค่านิยม เช่น ความเครียดทางจิตวิญญาน
5. (Choosing)แบบแผนการเลือก เช่น ไม่สามารถปรับตัวได้ ไม่สามารถเผชิญปัญหาได้
6. (Moving)แบบแผนการเคลื่อนไหว เช่น อ่อนเพลีย การนอน การเปลี่ยนแปลง การกลืนผิดปกติ
7. (Perceiving)แบบแผนการรับรู้ เช่น ความรู้สึกสิ้นหวัง การทอดทิ้ง
8. (Knowing)แบบแผนการรับรู้ เช่น รู้สึกสับสน จำไม่ได้
9. (Feeling)แบบแผนความรู้สึก เชน ความเจ็บปวด ความวิตกกังวล ความกลัว
 ระบบจำแนกประเภทผลลัพธ์ทางการพยาบาล (Nursing Outcomes classification : NOC)
                  เป็นระบบสารสนเทศทางการพยาบาลที่ช่วยประเมินว่าผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพครบถ้วนและเท่าเทียมกันทุกคน ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย IOWA ตั้งแต่ปี 1991  ซึ่งพัฒนาจากฐานข้อมูลของ NANDA7 Health domain29 Outcome class260 Outcome (Indicators and Scores)7 Health domains of NOCการใช้ค่ามาตรฐานในการวินิจฉัยทางการพยาบาล (International Classification Nursing Practice : ICNP)ระบบการผสมผสานคำ สำหรับการปฏิบัติพยาบาล (การวินิจฉัย กิจกรรมการพยาบาล และผลลัพธ์การพยาบาล) ที่จะเอื้อให้เกิดการ crossmapคำต่างๆ ทางการพยาบาลในทุกระบบจำแนกที่มีอยู่และคำท้องถิ่น การแพทย์ทางไกลหรือโทรเวชกรรม (Telemedicine) cine
·         เป็นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่ออาจเป็นสัญญาณดาวเทียม หรือใยแก้วนำแสงควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
·         แพทย์ต้นทางกับแพทย์ปลายทางติดต่อกันด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียงทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ระหว่างกันและกัน เช่น ฟิล์มเอ็กซเรย์ คลื่นหัวใจ

ประกอบด้วยระบบย่อย 4 ระบบ คือ
·         ระบบประชุมทางไกล (Video Conference)
·         ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Medical Consultation)
ระบบ TeleradiologyTeleDiagคือ Teleradiologyของคนไทย ที่พัฒนาขึ้นเพื่อคนไทย เป็นระบบ Telemedicine ที่สนับสนุนงานด้านรังสีวินิจฉัย การอ่านและวินิจฉัยผลในระยะไกล จากเครื่อง x-ray computer เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการในด้านการ วินิจฉัยสุขภาพอย่างทั่วถึง ปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นผลงานการพัฒนาของ บริษัท โปรดิจิส์จำกัด(www.prodigi.co.th ) 

• ระบบ Telecardiology      ระบบ Telecardiologyเป็นระบบการรับส่งคลื่นหัวใจ (ECG) และเสียงปอด เสียงหัวใจ โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อมายังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  

• ระบบ Telepathology  ระบบ Telepathologyเป็นระบบรับส่งภาพจากกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ซึ่งอาจจะเป็นภาพเนื้อเยื่อ หรือภาพใดๆ ก็ได้จากกล้องจุลทรรศน์ทั้งชนิด Monocular และ Binocular ระบบนี้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงพยาบาลต่างๆ อยู่แล้ว


·         ระบบการศึกษาทางไกล (Distance Learning)
·         ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลและโทรศัพท์
ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลและโทรศัพท์ (Data and Voice Network) ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลเป็นระบบการใช้งานเชื่อมต่อจากโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งเป็นจุดติดตั้งของโครงการฯ มายังสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถใช้บริการทางด้านเครือข่ายข้อมูลต่างๆ คือระบบ • Internet / CD ROM Server / ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข
ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ระบบแพทย์ทางไกลเป็นการนำเอาความก้าวหน้าด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์ โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่อซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณดาวเทียม (Satellite) หรือใยแก้วนำแสง (Fiber optic)แล้วแต่กรณีควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ระหว่างกันได้ 

ดาวเทียมโทรคมนาคม (Telecommunication Satellite) ใช้ในกิจการการสื่อสารในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นวิธีการพิเศษอย่างหนึ่งของไมโครเวฟที่ใช้ดาวเทียมเป็นสถานีทวนสัญญาณ สามารถส่งได้ระยะไกลกว่าสถานีทวนสัญญาณบนพื้นโลกเทคโนโลยีชนิดนี้เมื่อเทียบกับระบบอื่น- ส่งข่าวสารได้ จำนวนมากโดยการใช้ ความถี่ไมโครเวฟต่างกัน- ระบบดาวเทียมมีความสามารถในการส่งแบบกระจาย- ราคาของระบบสื่อสารไม่ ขึ้นกับระยะทาง
  อินเตอร์เน็ต (Internet protocol) ผ่านใยแก้วนำแสง ระบบสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตโดยใช้เลขหมาย IP และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกเทคโนโลยี ADSL พัฒนาให้ใช้TCP/IP Protocol เป็นหลัก ซึ่งเป็นProtocol ที่ใช้บนเครือข่าย Internet และพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยี ATM ทำให้ADSL สามารถรองรับ Application ในด้านMultimedia ได้เป็นอย่างดี โดยมีอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps.และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1 Mbps
 โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล ระบบ ISDN (IntegratedService Digital Network)เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมสื่อสารระบบใหม่ที่รวมการให้บริการสื่อสารที่มีเดิมทั้งหมด เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เทเล็กซ์ คอมพิวเตอร์ ดาต้าเทอร์มินอลที่ใช้ติดต่อกับเมนเฟรม เทเลเท็กซ์ วีดีโอเท็กซ์ รวมทั้งบริการสื่อสารอื่นๆ ที่ทันสมัย เช่น วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ มาใช้งานร่วมกันในโครงข่ายนี้ได้เพียงโครงข่ายเดียว โดยโครงข่ายนี้สามารถติดต่อสื่อสารได้ทั้งเสียง ข้อมูล และภาพ ด้วยสัญญาณดิจิตอลทั้งระบบความเร็วในการส่งข้อมูล 128 (64+64) kbps / หมายเลข
  การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาใช้เกี่ยวกับข้อมูลภาพทางการแพทย์ (Medical Imaging)
·         ผู้ใช้คือ แพทย์สาขาวิชาต่างๆ และ ผู้พัฒนา คือ ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์และ วิศวกร มาร่วมกันสร้างสรรค์ระบบงานหรืออุปกรณ์เกี่ยวข้องที่เหมาะสมกับการแพทย์ของไทย
·         ภาพที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยหรือ organism ต่างๆ ทั้งภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว ภาพสีหรือ ขาวดำ ของอวัยวะต่างๆทั้งภายในและภายนอก ภาพที่สร้างเป็นภาพเสมือนจริงหรือ สามมิติ
  ICD (International Statistical Classification of Disease and Related Health Problems Tenth Revision) ระบบการจัดหมวดหมู่ของโรค ภาวะความเจ็บป่วยและการบาดเจ็บต่างๆ ในมนุษย์องค์การอนามัยโลก (World Health Organization (WHO) ได้จัดทำ International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems (ICD) เพื่อใช้จัดหมวดหมู่โรคและการบาดเจ็บชนิดต่างๆ สำหรับการรายงานโรคหรือปัญหาสุขภาพทั่วไป (disease and related health problems) ที่มีมาตรฐานเดียวกัน และสามารถนำข้อมูลที่ได้รับการรายงานไปใช้ในทางระบาดวิทยา เพื่อวางแผนควบคุมและป้องกันโรคต่อไป ICD ที่ใช้ในปัจจุบันนี้เป็นฉบับที่ได้รับการปรังปรุงครั้งที่ 10 หรือเรียกย่อๆ ว่า ICD-10สำหรับงานทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลสุขภาพของผู้สัมผัสกับสิ่งคุกคามจากสิ่งแวดล้อมการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมทั่วไป การรายงานผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น อาการ อาการแสดง และโรคที่เกิดจากการทำงานหรือสิ่งแวดล้อม จึงมีความสำคัญเฉกเช่นเดียวกันกับการรายงานโรคทั่วไป คือช่วยให้ทราบระบาดวิทยาและนำไปสู่การวางนโยบาย มาตรการในการควบคุมและป้องโรคแต่เนื่องจาก การวินิจฉัยโรคจากการทำงาน (Occupational Diseases) มีบัญชีการวินิจฉัยโรคแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ยังไม่มาตรฐานเดียวกันที่ใช้เป็นสากล จึงทำให้การรายงานโรคจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าความเป็นจริง สำหรับประเทศไทย การรายงานโรคจากการทำงานในปัจจุบันใช้แบบรายงาน รง. 506 และ รง.506/2 ของสำนักระบาดวิทยา ซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่บางประการ คือเป็นรายงานเชิงระบาดวิทยาซึ่งจะรายงานทั้งผู้ป่วยที่สงสัยและผู้ป่วยยืนยันรวมกัน ไม่ครอบคลุมโรคจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมทุกโรค และที่สำคัญคือแพทย์บางส่วนยังไม่ทราบว่ามีระบบนี้อยู่ จึงทำให้การรายงานโรคจากการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าความเป็นจริง การนำระบบ ICD – 10 ซึ่งเป็นระบบที่รู้จักกันทั่วไปมาใช้ในการติดตามสถิติโรคจากการทำงาน จึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่เข้ามาทดแทนได้
กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม(DRG – Diagnosis Related Group)เป็นเครื่องมือในการจัดสรรงบประมาณชดเชยจากสำนักงานประกันสุขภาพให้กับ โรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยบัตรประกันสุขภาพและสวัสดิการข้าราชการ และเป็นระบบการจัดหมวดหมู่ของโรคที่เพิ่งถือกำเนิดมาใหม่ในราว 10 กว่าปีโดยมีข้อแตกต่างที่สำคัญจาก ICD-10 ในหลายแง่มุม ที่สำคัญคือ เกณฑ์การจัดหมวดหมู่และจุดมุ่งหมาย
 การนำไปใช้งานระบบ DRG จัดหมวดหมู่ของโรค ตามความหนักเบาของโรค และอาการต่าง ๆ เช่น แบ่งเป็น โรคทางอายุรกรรม โรคทางศัลยกรรมกลุ่มโรคแทรกซ้อนที่พบร่วม จะทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ใน DRG ที่แตกต่างกัน 

ระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RFID (Radio Frequency Identification)คือระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ (Automatic Identification) แบบไร้สาย (Wireless) ระบบนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์สองส่วน คือ ส่วนเครื่องอ่าน (Reader) และส่วนป้ายชื่อ (Tag) โดยการทำงานนั้นเครื่องอ่านจะทำหน้าที่จ่ายกำลังงานในรูปคลื่นความถี่วิทยุให้กับตัวบัตร ยังผลให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในสามารถส่งข้อมูลจำเพาะที่แสดงถึง “Identity” กลับมาประมวลผลที่ตัวอ่านได้

โครงสร้างการทำงานของระบบ RFID แบบ Inductive Coupling

 การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี RFID         เทคโนโลยี RFID สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านและเขียนข้อมูลได้โดยไม่ต้องสัมผัส ทนต่อสภาพแวดล้อมและสิ่งสกปรก การสื่อสารได้ทุกทิศทางและสามารถส่งสัญญาณผ่านวัตถุบางประเภทได้ การนำมาประยุกต์ใช้

         การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์

         ร้านค้าชั้นนำได้มีการนำเอาเทคโนโลยี RFID เข้ามาใช้ เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า สำหรับการบริหารห่วงโซ่อุปทานและการจัดการโลจิสติกส์นั้น เทคโนโลยี RFID สามารถนำไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

        การผลิต ใช้ในการตรวจสอบชิ้นส่วนการผลิตได้อย่างอัตโนมัติ

        การขนส่งและกระจายสินค้าใช้ในการตรวจสอบสินค้าที่เข้าและออกคลังสินค้าตลอดจนสินค้าคงคลังได้สะดวกรวดเร็วกว่าการใช้บาร์โค้ด สามารถเตือนภัยได้อัตโนมัติในกรณีที่สินค้าเป็นวัตถุอันตรายสองชนิดที่ไม่ควรวางใกล้กัน

       การค้าปลีก นอกจากทำให้การชำระเงินของลูกค้าสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ยังช่วยให้ผู้ค้าสามารถรู้อุปสงค์ของลูกค้าได้อย่างละเอียด ถึงระดับสินค้าเป็นรายชนิด  และรู้พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ทำให้การบริหารสินค้าคงคลัง และการวางแผนการขาย และการจัดวางสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น       ดังนั้นหากมีการร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกแต่ละชั้นในห่วงโซ่อุปทานจากต้นทางสู่ปลายทางแล้ว จะช่วยให้การวางแผนการผลิตเป็นไปอย่างสอดคล้องกับอุปสงค์มากขึ้น ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร และทำให้เกิดห่วงโซ่อุปทานแบบบูรณาการที่โปร่งใสและมีความลื่นไหลตลอดสายโซ่
การจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุข      มีการนำเทคโนโลยี RFID มาช่วยในการทำระบบติดตาม (Asset tracking) กับเครื่องมือแพทย์ที่มีราคาแพง ทำให้สามารถตรวจสอบการเก็บรักษาเครื่องมือแพทย์ได้สะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้นำมาใช้ในการตรวจสอบยาปลอม และการติดตามข้อมูลการรักษาย้อนหลังของผู้ป่วย ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนแพทย์ในการรักษา ทำให้แพทย์ทราบข้อมูลของผู้ป่วยและสามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง และสามารถใช้ในการติดตามตัวผู้ป่วยในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์ (Alzheimer) ได้ด้วยในปัจุบันได้เริ่มมีการนำเทคโนโลยี RFID เข้าไปประยุกต์ใช้ทางการแพทย์และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา องค์การอาหารและยาของประเทศให้การรับรองและอนุญาตให้มีการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีฝังชิ้นส่วนของไมโครชิพ หรือ เก็บหน่วยข้อมูลอัจฉริยะขนาดจิ๋ว ซึ่งทำงานด้วยระบบ RFID เข้าสู่ผิวหนังผู้ป่วยได้ โดยลักษณะรูปร่างของเจ้าไมโครชิพนี้จะมีขนาดเล็กมาก ๆมีขนาดเท่า เมล็ดข้าวเท่านั้นเอง และใช้ฉีดเข้าไปฝังตัวใต้ผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อช่วยเก็บข้อมูลในทางการแพทย์  อาทิเช่น  ข้อมูลกรุ๊ปเลือด ข้อมูลการเกิดภูมิแพ้ ข้อมูลลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละบุคคล เพื่อให้แพทย์ช่วยรักษาและวินิจฉัยให้ตรงกับโรคมากที่สุดอีกทั้งยังใช้ เป็นรหัสส่วนบุคคลของผู้ป่วยอีกด้วย   


 การจัดการด้านการปศุสัตว์

     เทคโนโลยี RFID ถูกนำมาประยุกต์ใช้การจัดการด้านการปศุสัตว์ เช่นในระบบติดตาม Animal tracking เพื่อให้ทราบเจ้าของของสัตว์ และสามารถใช้ในการตรวจสอบสายพันธุ์ และการระบุข้อมูลจำเพาะของสัตว์ได้ด้วย เช่น วัน เดือน ปี เกิด น้ำหนัก และการได้รับวัคซีนหรือยา เป็นต้น

 การจัดการงานห้องสมุด

        มีการนำเทคโนโลยี RFID มาประยุกต์ใช้กับงานในด้านต่างๆ เช่นกับงานบริการยืม คืนหนังสือ การตรวจสอบตำแหน่งที่อยู่ของหนังสือ รวมทั้งการตรวจสอบความปลอดภัย ในกรณีที่มีการนำหนังสือออกมาจากห้องสมุดโดยมิได้ทำการยืมก่อน เป็นต้น2. ระบบสารสนเทศทางการบริหาร(Administrative information system)ตัวอย่าง 
·         ระบบการลงทะเบียนผู้ป่วย
·         ระบบการเงิน
·         ระบบเงินเดือนและทรัพยากรมนุษย์
·         ระบบประกันคุณภาพ
·         ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
ความหมายของ Instant messagingเมสเซนเจอร์ หรือ อินสแตนท์เมสเซจจิง (instant messaging, IM) คือระบบการส่งข้อความทันที ระหว่างสองคน หรือกลุ่มคนใน เน็ตเวิร์ก เดียวกัน เช่น การส่งข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ต IM อยู่ในช่วงกลางยุค 90 โดยที่ผู้คิดค้นคนแรกก็คือ ICQ ที่นำ ICQ ออกสู่ตลาดตั้งแต่ช่วงปลายปี 1996 ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นวิธีการสื่อสารแบบใหม่ที่อาจจะทดแทนอีเมล์ไปได้เลยทีเดียว หลังจากนั้นทาง AOL ก็เริ่มออก IM ของตัวเองมาแข่งขัน จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาอย่างจริงจังจนมาถึงในปัจจุบัน ICQ รุ่นปัจจุบันที่ใช้งานกันอยู่นั้นก็คือรุ่น 2002 ซึ่งมีของเล่นมาให้ภายในตัวมันเองมากมายทีเดียว จนถึงตอนนี้ IM จากค่ายต่างๆ ก็ต่างมีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงแค่ ICQ และ AIM (จาก AOL) อีกต่อไป แต่ยังมีทั้ง MSN Messenger และ Yahoo! Messenger และ IM จากค่ายย่อยๆ อีกหลายค่ายเหมือนกันInstant messaging การทำงานของเมสเซนเจอร์จำเป็นต้องใช้ไคลเอนท์ซอฟต์แวร์ โดยซอฟต์แวร์ทำการเชื่อมต่อระบบที่บริการเมสเซนเจอร์ การส่งข้อความผ่านเมสเซนเจอร์ในยุคแรก ตัวอักษรแต่ละตัวที่ทำการพิมพ์จะปรากฏทางหน้าจอของผู้ที่ส่งข้อความด้วยทันที ในขณะเดียวกัน การลบตัวอักษรแต่ละตัว จะลบข้อความทันที ซึ่งแตกต่างกับระบบเมสเซนเจอร์ในปัจจุบัน โดยข้อมูลที่ปรากฏจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีตกลงยอมรับส่งข้อความแล้ว ตัวอย่าง IM ที่ใช้ในปัจจุบัน
·         ICQ
·         IM จากค่ายนี้คงยังมีจุดเด่นและเป็นจุดหลักที่ทำให้ผู้ใช้ยังคงติดทั้งการใช้งานที่ง่ายมาก และบริการเสริมอื่นๆ ที่คิดอยากจะได้อะไรก็ล้วนแต่มีให้แล้วใน ICQ โดยทั้งสิ้น คงไม่น่าแปลกใจที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า ICQ เป็นบรรพบุรุษของ IM เลยก็ว่าได้เพราะเป็นผู้ก่อกำเนิด IM ให้เราใช้กันจนถึงทุกวันนี้ จุดเด่นของ ICQ นั้นมีอยู่หลายๆ จุดตั้งแต่เรื่องของข้อความที่หากว่าเราคุยติดต่อกันเป็นจำนวนมาก ICQ สามารถบันทึกข้อความต่างๆ ของเราเก็บเอาไว้ ทำให้เราสามารถดึงขึ้นมาใช้ในภายหลังได้อีก อย่างเช่น หากว่าวันนี้คุณต้องการค้นหาสินค้าจากบริษัทหนึ่ง แต่จำไม่ได้ว่า URL อะไรจำได้แค่เพียงว่าเคยคุยกับเพื่อนผ่านทาง ICQ ไปเมื่อเดือนก่อน ก็สามารถสั่งค้นหาได้ทันที และถ้าหากเพื่อนไม่ได้ออนไลน์อยู่ในขณะนั้นเราก็สามารถส่งข้อความแบบออฟไลน์ไปให้เขาได้อีกด้วยโดยที่ข้อความจำถูกนำไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ของ ICQ และเมื่อเพื่อนคนนั้นออนไลน์อีกครั้งก็จะเห็นข้อความดังกล่าวทันที
 Instant Messaging  สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่ต้องการ นำ IM มาใช้(Open fire )สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการใช้งาน Instant Messaging เหมือนกับ MSN หรือ Yahoo Messenger ใช้เองภายในองค์กร มี opensource software มาแนะนำ คือ Openfireของ Jive Software ซึ่งพัฒนามาจาก Jabber เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ที่สนับสนุนโปรโตคอลการรับส่งข้อความแบบ Streaming XML Protocol มีฟังชั่นรองรับบริการต่าง ๆ เหมือนกับโปรแกรม IM ยอดนิยมทั้งหลาย ตั้งแต่การรับส่งข้อความถึงกันธรรมดา ( เรียกว่า Peer to Peer ) การสนทนากันสองต่อสอง ( Chat ) ไปจนถึงการแชทกันเป็นกลุ่ม ( Group Chat หรือ Room Chat ) โปรแกรมOpenfireประกอบไปด้วย
·         Open fire Server ทำหน้าที่เป็น server สำหรับให้บริหารจัดการ IM การจัดการ user, การจัดการ Gateway เป็นต้น
o    ตัวอย่างโปรแกรม openfire:
o    โปรแกรม Client ชื่อ Spark เป็นโปรแกรมสำหรับเครื่อง client หรือ user ใช้ติดต่อกัน เหมือนกับโปรแกรม MSN ที่เราคุ้นเคย เพียงแต่ feature บางอย่าง อาจจะไม่เหมือนกัน
o    ตัวอย่างหน้าตาโปรแกรม Spark:
อนาคตของ IMจากข้อมูลของการ์ทเนอร์ได้คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2011 โปรแกรม Instant messagngingจะกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารสำหรับองค์กรธุรกิจยุคใหม่ โดยสามารถรองรับได้ทั้งภาพเคลื่อนทไหว เสียง และข้อความเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอน 
การประยุกต์ใช้IMมาใช้กับระบบโรงพยาบาลโครงการนี้จึงเป็นการนำระบบ Artificial Intelligent มาประยุกต์ใช้งาน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้ได้รับทราบข้อมูลที่ต้องการในลักษณะการสนทนาตอบโต้ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (Chat Robot) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถที่จะวิเคราะห์สุ่มเลือกคำตอบที่เหมาะสมหรือใกล้เคียงด้วยเทคนิคการประยุกต์ใช้ภาษา AIML (Artificial Intelligent Markup Language) มาช่วยในการพัฒนาฐานข้อมูลความรู้ (Knowledge Base) จะทําให้การสืบค้นมีประสิทธิภาพ ทั้งเทคนิครูปแบบการไปจับคู่สัมผัสกับประโยคของภาษา AIML กับประโยคไวยกรณ์ทําให้ได้ผลที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงความต้องการของคําถามของผู้ถามให้มากที่สุด การทำงานของระบบที่ปรึกษาของทางโรงพยาบาลนั้นต้องอาศัยเครื่องมือที่สำคัญคือ chat-bot และฐานข้อมูลของระบบ Artificial Intelligent ที่รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นระบบนี้จัดทำเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยเก่าที่ต้องการมาตรวจที่โรงพยาบาล โดยนัดวันมาตรวจล่วงหน้า เพื่อลดระยะเวลาการค้นหา OPD Card ผู้ป่วยที่ต้องการนัดวันตรวจกับแพทย์ 
การนัดหมาย (Appointment)ผู้นัดสามารถตรวจสอบวัน-เวลาว่างของบุคคลที่จะนัดและลงเวลาการนัดได้ล่วงหน้าระบบช่วยตรวจสอบให้อัตโนมัติว่าบุคคลที่นัดเช่นแพทย์ในแต่ละช่วงเวลามีการนัดที่เกินความสามารถที่ผู้นัดจะรับนัดได้หรือไม่ (Work Load)ระบบนัดหมายผู้ป่วยกลับมารับการรักษาต่อ เมื่อมีข้อบ่งชี้ มีระบบช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลตามความเหมาะสม โรงพยาบาลมีการบริหารการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การนัดหมายเป็นไปอย่างราบรื่น มี ระบบล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ มีการโทร confirm นัดมีระบบ recall ทางไปรษณีย์ smsอีเมล์และระบบVoice message จึงมั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับบริการตรงเวลานัดหมาย ช่วยลดความกังวลใจไม่ลืมนัด
 การประยุคต์การทำงานจริงกับระบบโรงพยาบาลทางโรงพยาบาลจะมีการพัฒนาระบบ Instant messaging โดยใช้ระบบ Robot โดยใช้เทคโนโลยีของ Chat-Bot และใช้Software ของ Openfire Server และ Spark Client มาช่วยในการพัฒนา
·         เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษากับทางโรงพยาบาลในครั้งแรก ทางโรงพยาบาลจะให้ username และ password แก่ผู้ป่วย เพื่อนำไปใช้ในการเข้าlogin ใน ระบบ IM ที่ทางโรงพยาบาลได้พัฒนาไว้ นอกจากนั้นผู้ป่วยยังจะได้รับแผ่นโปรแกรมที่สามารถนำไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยที่ต้องการใช้ IM หรือผู้ป่วยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของทางโรงพยาบาลได้อีกช่องทางหนึ่ง
·         หรือถ้าไม่ได้เป็นผู้ป่วยของทางโรงพยาบาลก็สามารถเข้าไปในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลเพื่อสมัครสมาชิกของโรงพยาบาล แล้วจะได้ Username กับ Password และสามารถดาว์นโหลดโปรแกรม IM ของทางโรงพยาบาลได้เหมือนกัน
·         ในกรณีถ้าผู้ป่วยรายใดมีความประสงค์ที่จะต้องการนัดกับทางแพทย์ล่วงหน้า ก็สามารถ login username password ที่ทางโรงพยาบาลให้ไว้
·         เมื่อผู้ป่วยloginเข้ามาในระบบแล้ว ทางโรงพยาบาลมี Robot ที่ค่อยรับการติดต่อสื่อสารกับทางผู้ป่วย
·         โดยทางRobotจะสอบถามรายละเอียดของตัวผู้ป่วยที่ต้องการจะนัดกับทางแพทย์ โดยจะมีรายละเอียดที่สำคัญในการสอบถามคือ
1.               ชื่อ นามสกุล
2.               เพศ
3.               ผู้ป่วยต้องการตรวจกับแพทย์สาขาใด
4.               วัน เวลาที่สะดวก
5.               อาการป่วยเบื้องต้นของผู้ป่วย
·         หลังจากนั้น ทางRobotจะเข้าไปที่ระบบโรงพยาบาล เพื่อเข้าไปตรวจสอบแพทย์ที่ตรงกับสาขาที่ผู้ป่วยต้องการว่ามีแพทย์ท่านใดบ้าง และมีเวลาที่ว่างเวลาใด ตรงกับกับความต้องการของผู้ป่วยหรือไม่
·         หลังจากที่Robotได้ตรวจสอบข้อมูลที่กำหนดไว้แล้ว ก็สามารถกลับไปตอบผู้ป่วยได้ว่า ผู้ป่วยจะต้องเข้ามารับการรักษาเวลาใด วันไหน และแพทย์ที่รับการรักษาคือแพทย์ท่านใด

·         นอกจากจะสามารถพูดคุยกับผู้ป่วยที่ต้องการนัดเพื่อรับการรักษาจากแพทย์ ทางระบบIMยังสามารถติดต่อกับแพทย์ที่ต้องการทราบข้อมูลวัน เวลา ชื่อ นามสกุล อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับการรักษากับแพทย์อีกด้วย โดยทางโรงพยาบาลได้ให้ usenameและpassword แก่ทางแพทย์ด้วย แพทย์ยังสามารถตรวจสอบการเข้าประชุมทั้งในและนอกสถานที่ได้
 ตัวอย่าง Software HIS

 Hospital Information System (HIS) ของโรงพยาบาลสาธิต

เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน และ/หรือโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

เพื่อให้โรงพยาบาลเหล่านี้ได้มีทางเลือกในการใช้โปรแกรมมากขึ้น HIS พัฒนาโดยใช้ Data set มาตรฐานเดิมซึ่งเคยได้ออกแบบไว้แล้ว(เล่มสีเขียว) โดยใช้ Visual Fox Pro Version 3.0 เพื่อให้ใช้ได้กับทุก Windows environment ทั้งแบบ Client-Server และ Stanaloneสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Database เป็น SQL Anywhere5.0 หรือ MS SQL Server6.5 ขึ้นไป
โปรแกรมตัวอย่าง ได้แก่ Database SQL Server7.0 

การใช้งานHIS เป็นโปรแกรมที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้กำหนดองค์ประกอบของโปรแกรมได้เอง ประกอบไปด้วยระบบงานย่อยดังนี้
·         ระบบงานห้องเก็บเงินผู้ป่วย
·         ระบบรายงาน
·         ระบบการติดตามสอบถามข้อมูลผู้ป่วย
ระบบโรงพยาบาล (HIS)
·         UNIX ประกอบด้วย ระบบผู้ป่วยใน, ระบบห้องผ่าตัด, ระบบห้องคลอด, ระบบห้องปฏิบัติการ, ระบบเวชระเบียนผู้ป่วยในระบบการเงินผู้ป่วยนอกและระบบการเงินผู้ป่วยใน ระบบสั่งอาหาร On Line
·         Windows ประกอบด้วย ระบบเวชระเบียน, ระบบผู้ป่วยนอก,ระบบนัดหมาย, ระบบการเงินผู้ป่วยนอก, ระบบการเงินผู้ป่วยใน
 โปรแกรม Med-Tark ซึ่งมีระบบเวชระเบียน ระบบห้องยา ระบบการเงิน ส่วนโปรแกรมสำนักงาน(back office)ที่มีใช้ช่วยในงานบริการ เช่น โปรแกรมการเงินการบัญชี โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมพัสดุ โปรแกรมครุภัณฑ์ เป็นต้น พัฒนาจากโปรแกรม  Visual FoxPro
 ระบบคอมพิวเตอร์ MED-TRAK
·         ระบบเวชระเบียน
·         ระบบห้องตรวจ ระบบนัดหมาย
·         ระบบเภสัชกรรม ระบบการเงิน
·         ระบบ ANC ระบบ Wellbabyระบบการตรวจเยี่ยมบ้าน
 ฮอสเอกซ์พี (HOSxP) เป็น ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน สำหรับสถานพยาบาล สถานีอนามัย และโรงพยาบาล พัฒนาโดยบุคลากรที่อาสาสมัครมาจากหลายโรงพยาบาล มีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปใช้งานได้จริงทั้งในระดับสถานีอนามัย ไปจนถึงโรงพยาบาลศูนย์ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ. 2542 ปัจจุบันถูกใช้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย มากกว่า 150 แห่ง
(iMed) คือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน  สำหรับสถานพยาบาล  สถานีอนามัย  และโรงพยาบาล  เพื่อใช้ในการให้บริการผู้ป่วยในระบบงานส่วนหน้า (Front office) ของสถานพยาบาล ซึ่งครอบคลุมการให้บริการผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ โดยมุ่งเน้นในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้งาน และพัฒนาคุณภาพในการให้บริการผู้ป่วย iMed™ ถูกออกแบบและพัฒนาโดย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลเมดิคัล ซอฟต์แวร์ จำกัด ซึ่งเป็นทีมพัฒนาเดิมของทีมพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาลขนาดเล็ก Hospital OS  ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  (สกว] และเครือข่ายวิจัยสุขภาพ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ  (มสช) โดยได้รับการยอมรับและมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางกว่า 60 สถานพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อขยายขอบเขตในการตอบสนองความต้องการของสถานพยาบาลทุกขนาด ทั้งภาครัฐและเอกชน คณะผู้พัฒนาจึงได้พัฒนาโปรแกรม iMed™ ขึ้น โดยมีจุดเด่นในการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครบถ้วน และยังคงแนวคิดของการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้ลิขสิทธิ์แบบเปิดไว้ (Technology Transfer and Open Source Concept) พร้อมทั้งให้ source code ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สถานพยาบาลจะได้รับประโยชน์อย่างสูงในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน
 (Medico) โปรแกรมคอมพิวเตอร์การบริการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Fully 3 tiers: WEB SERVICES
·         เหมาะสำหรับโรงพยาบาลขนาดกลางและใหญ่ เชื่อมโยงกับแหล่งฐานข้อมูลอื่นผ่าน XML และ Internet เชื่อมต่อโปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ ได้
·         มีความแข็งแรงรองรับการให้การบริการจำนวนมาก ได้อย่างน้อย 1,000 รายต่อวัน หรือ 300 รายต่อชั่วโมง
·         มีระบบรักษาความปลอดภัยภายใน Intranet ถึงระดับ Hardware ของเครื่องลูกข่ายอีกด้วย
·         มีระบบงานคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลสาขา PCU และคลินิกโดยสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลกันได้ ทำให้สามารถช่วยฝ่ายบริหารวางแผน โดยประเมินประสิทธิภาพแยกตามแผนก บุคคลหน่วยงาน ได้อย่างละเอียด
 (MIMS:Hospital Information Management System) คือ ระบบ งานการบริหารโรงพยาบาลที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบงานคอม พิวเตอร์และระบบโรงพยาบาล เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรที่ต้องการระบบงานที่ช่วย ในการบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว, เที่ยงตรง, แม่นยำ หลีกเลี่ยงการทำงานที่ซ้ำซ้อน โดย เน้นให้ทุกฝ่ายในองค์กรใช้ฐานข้อมูลที่มีการ Access ในลักษณะ  Real Time ร่วมกัน ทำให้ Output ของระบบหนึ่งจะกลายเป็น Input ของอีกระบบหนึ่งโดยไม่ต้อง  Re-Key  ข้อมูลใหม่ ส่งผลให้เพิ่มขีดความสามารถในการ   ตรวจสอบ, จัดการ, ติดตามและรายงานข้อมูลที่เกิดขึ้นจาก ทุกฝ่ายในองค์กร   ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของผู้ป่วยแพทย์ยา,   เวชภัณฑ์การตรวจรักษาพัสดุ, การเงิน, บัญชี ฯลฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้อีกทั้งเลือกพัฒนา บนเครื่อง  IBM AS/400e Series  ที่มี  Technology  ที่ทันสมัยเหมาะกับการทำงานแบบ Interactive ที่เป็น Multi User, Multi Taskingอย่างยอดเยี่ยม
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การ สามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.  ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2.  ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3.  ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system) 4.  ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (Production and operations information system)
5.  ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)
ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี
ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่ง เฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องใน การทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือ การประมวลผล เชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ

1.  ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ

2.  ระบบบัญชีบริหาร (Managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
-ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
-ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
-มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
-มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
AIS จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่ AIS จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน แต่ MIS  จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่ AIS จะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน

ระบบการเงิน (Financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดย ตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้

1.  การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทาง คณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ

  2.  การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม  การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น

 3.  การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
-การควบคุมภายใน (internal control)
-การควบคุมภายนอก (external control)
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น สำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้
1.  ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operations data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ

2.  ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน

 3.  กลยุทธ์องค์การ (Corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่น ต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสริมความสำเร็จของกลยุทธ์

 4.  ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์

ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทางการเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลขทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน
ระบบสารสนเทศด้านการตลาด
การตลาด (marketing) เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจ เนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษา และวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดจนส่งเสริมการขายจนกระทั้งสินค้าถึงมือลูกค้า ปกติการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่วนประสมทางการตลาด (marketing mix) หรือ ส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (product) ราคา (price) สถานที่ (place) และการโฆษณา (promotion) หรือที่เรียกว่า4Ps โดยสารสนเทศที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์ วางแผน ตรวจสอบ และควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
1.  การปฏิบัติงาน (operations) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาด ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วยในการตรวจสอบ ควบคุม และวางแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
2.  การวิจัยตลาด (marketing research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ โดยนักการตลาดจะทำการวิจัยบนสมมติฐานและการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ปกติข้อมูลในการวิจัยตลาดจะได้มาจากการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม การวิจัยตลาดช่วยผู้บริหารในการวางแผนและการตัดสินใจทางการตลาด แต่อาจมีข้อจำกัดของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในการอธิบายพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
3.  คู่แข่ง (competitor) คำกล่าวที่ว่า “รู้เขารู้เรา รอบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้ง” แสดงความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงาน ของคู่แข่งขันช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดอย่างเหมาะสม ปกติข้อมูลจากคู่แข่งขันจะมีลักษณะไม่มีโครงสร้าง ไม่เป็นทางการ และมีแหล่งที่มีไม่ชัดเจน เช่น การทดลองใช้สินค้าหรือบริการ การสัมภาษณ์ลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย การติดตามข้อมูลในตลาด และข้อมูลจากสื่อสารมวลชน เป็นต้น

4.  กลยุทธ์ขององค์การ (corporate strategy) เป็นข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ

 5.  ข้อมูลภายนอก (external data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ โดยทำให้ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของลูกค้าขยายหรือหดตัว ตลอดจนสร้างคู่แข่งขันใหม่หรือ เปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในการดำเนินงาน
สารสนเทศด้านการตลาดอาจจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจซึ่ง เราสามารถจำแนกระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดได้ดังต่อไปนี้
1.  ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย  สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อย 3 ระบบดังต่อไปนี้
ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย  จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายขาย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลที่ระบบต้องการจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย รูปแบบ ราคา และการโฆษณาต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า นอกจากนี้อาจเกี่ยวกับช่องทางและ วิธีการขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า ตลอดจนคู่แข่งของผลิตภัณฑ์ที่จะขายและจำหน่ายสินค้าคงคลังของบริษัท
*ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขาย  จะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของกำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขายสินค้า ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติบโตของสินค้าซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากรายงานต่าง ๆ เช่น รายงานการขาย รายงานของต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบเป็นต้น
*ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้า  จะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อที่ธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
2.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยตามหน้าที่ได้ 2 ระบบ ดังต่อไปนี้
*  ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า  การวิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์ลูกค้าตรงที่ว่าการวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขต ของการใช้สารสนเทศกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้า โดยการวิจัยลูกค้าจะต้องการทราบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยมและพฤติกรรมการบริโภค
*ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด  การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหาขนาดของตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกจำหน่าย ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หลังจากนั้นก็จะกำหนดส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์เพื่อทำการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กำหนดกลยุทธ์และวางแผนกลยุทธ์ สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือสภาวะและแนวโน้มทาง เศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในตลาด รวมทั้งสภาวะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์นี้ด้วย
3.  ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย  เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้า และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้สูงขึ้น  สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าใดต้องการแผนการส่งเสริมการขาย และสารสนเทศที่เกี่ยวกับผลกำไรหรือขาดทุนของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อให้ความสำคัญกับสินค้าตัวที่ทำกำไร
4.  ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ  เป็นระบบสารสนเทศที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของระบบได้แก่ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในอดีต  เพื่อให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของตลาด และการประมาณการต้นทุน เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าสมควรที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
5.  ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย  เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำกำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปถึงการวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมาณที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขัน สภาวการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา
6.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร  เป็นระบบสารสนเทศที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทำกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจ  โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต  สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
7.  ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา  การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง
8.  ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย  บุคคลที่เป็นผู้ควบคุมค่าใช้จ่ายสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไร กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้น
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายโอกาสและเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า ซึ่งทำให้นักการตลาดสมัยใหม่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อ ให้เกิดโอกาสและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ ซึ่งจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตน
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า “การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้
1.  ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (production/operations data)  เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจุบันของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
2.  ข้อมูลสินค้าคงคลัง (inventory data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
3.  ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ (supplier data)  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติ และราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่วงทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
4.  ข้อมูลแรงงานและบุคลากร (labor force and personnel data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม

5.  กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy)  แผนกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่บทและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ